|
|
|
|
|
|
|
|
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย
|
| |
วันที่ 7 เม.ย. 2565
นายอินจันทร์ ดวงเดือน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก่ง
นายสมบูรณ์ เจนดี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก่ง
และนายบุญธรรม เขียนสาร เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก่ง
ได้เดินทางไปร่วมงาน ประเพณีแห่ช้างบวชนาคชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว
ประเพณีบวชช้างหรือที่เรียกว่า แห่ช้างอยู่เคียงคู่ผู้คนทีมีสายเลือดไทยพวนมานานแล้ว คือ การนำช้างมาร่วมในพิธีบรรพชาอุปสมบทมาจากคติความเชื่อทางพุทธศาสนาว่า พระ เวสสันดรให้ช้างปัจจัยนาเคนทร์อันเป็นช้างเผือกคู่บารมีที่ชาวเมืองเชตุดรถือว่าเป็นมงคลหัตถีแก่พราหมณ์ทั้ง 8 จากแคว้นกลิงคราษฎร์ที่มาทูลขอเพื่อเป็นมงคลแก่บ้านเมืองที่ประสบทุพภิกขภัย
ความเชื่อนี้เกี่ยวข้องกับอีกตำนานหนึ่ง คือ ตอนที่พระเจ้ากรุงสัญชัย พระราชบิดาของพระเวสสันดรขอให้พระเวสสันดรกลับมาเป็นกษัตริย์ตามเดิมนั้น พระองค์ได้จัดขบวนช้างม้าและรถประดับประดาเหมือนออกศึกสงครามให้สมเกียรติเพื่อไปรับพระเวสสันดรและพระนางมัทรีขบวนแห่ขับด้วยมโหรีและการละเล่นต่าง ๆ เป็นการเฉลิมฉลอง
ความเชื่ออีกประการหนึ่ง คือ คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่มุ่งให้ผู้บวชถือปฏิบัติตนเพื่อไปสู่โลกอุดร หรือโลกุตรธรรม คือ ธรรมอันพ้นจากวิสัยของโลก ได้แก่ พระนิพพาน แต่คนทั่วไปเข้าใจว่า อุดร หมายถึงทิศเหนือ ซึ่งมีสัญลักษณ์ คือ ช้าง ชาวไทยพวนเรียกสัญลักษณ์ประจำทิศเหนือว่า โงนงก คือ ช้างและนำมาเป็นส่วนร่วมในขบวนแห่มาจนทุกวันนี้
ข่าว ณ. วันที่ 7 เม.ย. 2565 เวลา 15.02 น. โดย คุณ พรพรรณ กาฟัก
ผู้เข้าชม 22 ท่าน | |